COCONS ACHITECTURE

15

เครื่องวิทยุสื่อสาร (เครื่องดำ) ปัจจุบันมีสองประเภท

ประเภทที่ ๑ คือเครื่องที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนความถี่ที่ตัวเครื่องได้เอง เครื่องประเภทนี้อนุญาตสำหรับหน่วยงานด้านความมั่นคงบางหน่วยและกิจการวิทยุสมัครเล่น
ประเภทที่ ๒ คือเครื่องที่ผู้ใช้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนความถี่ที่ตัวเครื่องได้ ต้องใช้อุปกรณ์ภายนอกปรับตั้งความถี่ เครื่องประเภทนี้สำหรับ หน่วยงานราชการต่างๆ ตำรวจ ทหาร งานปกครอง เทศบาล รวมถึงหน่วยงานเอกชนเช่น องค์กรด้านสาธารณกุศล สมาคม มูลนิธิต่างๆ

22135300_1982441262043952_953233263117905776_o

ทั้งสองประเภท ผู้ใช้งานต้องผ่านการอบรมและ/หรือสอบจาก กสทช.
เช่น…
ประเภทที่ ๑. เป็นเครืองที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงบางหน่วยงานใช้ กับผู้ใช้งานกิจการวิทยุสมัครเล่น (พนักงานวิทยุสมัครเล่น) ซึ่งต้องสอบรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น แล้วนำใบประกาศไปขอนามเรียกขาน ปัจจุบันขึ้นต้นด้วย E2xxxx เมื่อได้รับนามเรียกขานแล้วจึงจะสามารถซื้อเครื่องวิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่น ความถี่ใช้งาน 144.000 – 146.000 M.Hz (ปัจจุบันได้ขยายไปจนถึง 147.000 M.Hz) ได้เท่านั้น ไม่สามารถดัดแปลงเครื่องไปใช้ความถี่นอกเหนือจากนี้ ซึ่งการดัดแปลงเครื่องวิทยุสื่อสารใช้ความถี่ที่นอกเหนือจากปรากฎในใบอนุญาต จะมีความผิดตามพรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โทษจำคุก ๕ ปี ปรับ ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

P25_hand-held_radiosประเภทที่ ๒. ผู้ใช้งานหรือพนักงานวิทยุของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชนด้านสาธารณกุศล สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ ต้องผ่านการอบรมการใช้งานวิทยุสังเคราะห์ความถี่จาก #กสทช แล้ว หน่วยงานต้นสังกัดจึงจะออกบัตรพนักงานวิทยุของหน่วยงานนั้นๆ พร้อมสัญญานเรียกขานของหน่วยงานให้ จึงจะสามารถใช้วิทยุสื่อสารของหน่วยงาน หากเป็นเจ้าหน้าที่อาสาขององค์กรสาธารณกุศล สมาคม มูลนิธิ ก็ต้องใช้เครื่องวิทยุสื่อสารของ สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น ไม่สามารถใช้เครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องของหน่วยงานต้นสังกัดได้

วิทยุผิดกฎหมาย

หากเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาสามูลนิธิ จัดซื้อเครื่องมาใช้เป็นของตนเองจะมีความผิดตาม พรบ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงต้องปฏิบัตตามขั้นตอนการจัดซื้อครุภัณฑ์ของหน่วยงานนั้นๆ และเป็นเครื่องที่ได้รับการจดทะเบียนกับ กสทช. เป็นเครื่องมี NTC ID และ Serial Number เป็นของหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้น หากไม่ใช่เครื่องของหน่วยงานก็คือการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตนั่นเอง มีโทษจำคุกสูงสุด ๕ ปี ปรับสูงสุด ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

class-b_label-index1024-810x426

ดังนั้น … จะเห็นว่ามีกิจการเดียวเท่านั้นที่สามารถมีเครื่องเป็นของพนักงานวิทยุได้ (เป็นของตนเองได้) คือกิจการวิทยุสมัครเล่น นอกนั้นต้องใช้เครื่องของหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้น แม้จะได้รับอนุญาตเป็นพนักงานวิทยุของหน่วยงาน ก็ไม่มีสิทธิ์ซื้อเครื่องใช้เอง หรือซื้อเครื่องเป็นของตนเองได้

2010-05-18_21-53-00_0สำหรับประชาชนทั่วไป กสทช. ได้อนุญาตให้สามารถมีเครื่องวิทยุสื่อสารใช้ในกิจการของเอกชนได้ โดยใช้ความ 245.000 – 245.9875 M.Hz หรือที่เรียกว่า “เครื่องแดง” โดยแบ่งช่องความถี่เป็น 80 ช่อง และอนุญาตให้ใช้โทนช่องย่อยเพื่อป้องกันการรบกวนกันเองระหว่างกลุ่มผู้ใช้ความถี่ร่วม ซึ่งสเปคของเครื่องวิทยุเครื่องแดงในปัจจุบัน ในแต่ละช่องความถี่ สามารถตั้งโทนช่องย่อยแบบอนาล็อกถึงกว่า 50 ช่องย่อย และแบบดิจิตอลกว่า 250 ช่องย่อย ดังนั้นใน 1 ช่องความถี่ จึงสามารถรองรับผู้ใช้กว่า 300 ช่องย่อย ความถี่ทั้งสิ้น 80 ช่อง รวมแล้วสามารถรองรับการใช้งานได้ถึงกว่า 24,000 ช่องย่อยหรือกลุ่ม ตลอดทั้งย่านความถี่ ถ้ากลุ่มหนึ่งมีผู้ใช้ประมาณ 10 – 20 คน ก็สามารถใช้ความถี่ย่าน CB245 ได้พร้อมๆ กัน จำนวนสามแสนถึงหกแสนคน หากแต่ละช่องย่อยมีผู้ใช้ 100 คน ก็จะสามารถใช้งานได้หลายล้านคนพร้อมๆ กัน ซึ่งเกินพอแน่นอน

ปัจจุบันความถี่ย่านประชาชนหรือ CB ได้รับการขยายความถี่ขึ้นไปอีก 1 M.Hz คือ 245.000 – 246.9875 ช่องใช้งานทั้งหมดรวม 160 ช่อง ตามประกาศของ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกํากับดูแลการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมคลื่นความถี่ภาคประชาชน (Citizen Band : CB) รายละเอียดปรากฎตามลิ้ง …
https://goo.gl/c9yeUD

แต่เนื่องจากมีควาย .. (ขอโทษพิมพ์ผิด) คนบางกลุ่มที่ใช้ความถี่ย่าน CB245 โดยไม่ใช้โทนช่องย่อย กล่าวหาผู้ใช้ความถี่ร่วมซึ่งใช้โทนแบ่งช่องย่อยใช้งาน ว่ามารบกวนการใช้งานความถี่ของตน ทำตัวเป็นเจ้าของความถี่ทั้งที่เป็นความถี่ของประชาชน อย่างไร้ความรู้ด้านเทคนิคของเครื่องหรือแปลเป็นไทยได้ง่ายๆ ว่า “โง่” นั่นเอง

ประกาศวิทยุ CB2

ควาย … (ขอโทษอีกที พิมพ์ผิด) ผู้ใช้ความถี่กลุ่มนี้ ไม่ใช่ส่วนใหญ่ แต่ทั้งหมดจะเป็นพวกที่ใช้ข้ออ้างโคตรคลาสสิคว่า #ทำความดี #ช่วยเหลือสังคม #ประสานเหตุ #ถ้าญาตมึงเป็นคนเจ็บบ้าง บลา… บลา… บลา… ซึ่งเป็นข้ออ้างเดียวกันเพื่อให้ตัวเองอยู่เหนือกฎหมาย ใช้ข้ออ้างคลาสสิคนั้น ติดตั้งหวอเถื่อน ใช้วอเถื่อน เพื่อดักฟังข้อความจากความถี่มันไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ ถ้าจะว่าตามกบิลเมืองแล้ว ก็มีโทษไม่แพ้พกปืนเถื่อน ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าจะพกปืนเถื่อนไปทำความดีด้วย ดังข่าวที่ปรากฎบ่อยๆ
“ใครที่ทำผิดกฎหมาย” รู้มัยว่าแถวนี้ เค้าเรียกคนพวกนี้ว่าอะไร? …

คนที่ทำผิดกฎหมายทุกคนไม่ใช่โจร
แต่โจรทุกคนทำผิดกฎหมาย

1411201008

ดังนั้นหากท่านหรือกลุ่มใดต้องการใช้วิทยุเครื่องแดงย่าน CB245 ต้องการใช้งานเฉพาะกลุ่มของตนโดยไม่ต้องให้ใครเข้ามารบกวนในกลุ่มของท่าน ก็ควรต้องใช้โทนช่องย่อยเพื่อรักษาสิทธิ์ในป้องการรบกวนจากกลุ่มผู้ใช้อื่นที่ใช้ช่องความถี่เดียวกัน แต่ถ้าผู้ใช้คนใด กลุ่มใด ไม่ใช้โทนช่องย่อย หรือเรียกกลุ่มคนพวกนี้ว่าพวก ควาย* ถือว่าได้สละสิทธิ์การป้องกันการรบกวนไปแล้ว และไม่มีสิทธิ์ไล่ผู้ใช้ความถี่ร่วม ไปใช้ความถี่อื่น

DNA ควายหลงมาปนได้อย่างไร คงต้องย้อนไปดู ณ.วันที่เกิดการปฏิสนธิ


*พวกใช้ความถี่ย่านประชาชน CB245 เป็นกลุ่มโดยไม่ใช้โทนช่องย่อย เมื่อมีผู้เข้ามาใช้ความถี่ร่วมก็ไล่ให้ไปใช้ช่องอื่น

ใส่ความเห็น