“การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ “

ง่าย ๆ สั้น ๆ

แม่น้ำนั้นก็คดเป็นธรรมดา แต่คนเดินทางแจวเรือกันกล้ามขึ้น อย่ากระนั้นเลย ขุดลัดซะ

.ดังนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ออกทะเลได้ จึงถูกขุดแปลงมาไม่ต่ำกว่า 400 ปีตั้งแต่สมัยพระไชยราชาขุดคลองลัดบางกอก

.สีน้ำตาลคือแม่น้ำเก่า ส่วนสีฟ้าคือขุดลัด

จากบนลงล่าง

1. คลองลัดเตร็ดใหญ่ หรือ เกร็ดใหญ่ เกร็ดแปลว่า แยก แยกปากเกร็ดคือ มันอยู่ตรงปากแยกแม่น้ำพอดี ขุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาเก่ากลายเป็นคลองเชียงราก

2.คลองลัดเกร็ดน้อย ขุดสมัยพระเจ้าท้ายสระ ทำให้เกาะเกร็ดกลายเป็นเกาะ จากเดิมเป็นแค่กระเพาะหมู

3. คลองลัดอ้อมนนท์ ทำให้เกิดเมืองนนทบุรีใหม่ ขุดสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พระบรมชนกของ

พระนารายณ์)

4. คลองบางกรวย ขุดสมัยพระมหาจักรพรรดิ

(ตาพระนเรศวร)

5. คลองลัดบางกอก ทำให้เกิดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าม.ธรรมศาสตร์ ขุดตั้งแต่สมัยพระไชยราชา

6. คลองวัดโพธิ์ ขุดสมัยพระเจ้าท้ายสระ อยุธยาปลาย ๆ แต่น้ำเค็มมันดันทะลักขึ้นไปถึงบางกอก สวนพัง ร.1 เลยให้อุดเสีย มาทำประตูน้ำใหม่สมัย

ร.9

7. คลองลัดหลวง ขุดสมัยร.2 กลายเป็นคลองหน้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)

ถ้าดูแต่เส้นฟ้า ๆ เราก็จะเข้าใจวิธีคิดสร้าง “ซูเปอร์ไฮเวย์” สำหรับออกทะเลของคนอยุธยา

ส่วนแม่น้ำเก่าคด ๆ ก็ลดรูปกลายเปนคลองไป เพราะน้ำทะลักไหลตรงลงใต้ แต่ชุมชนไม่ได้ร้าง และกลับดีเสียอีกเพราะคลองเล็กลงแจวง่าย ไม่โต้คลื่น เหมาะสำหรับชาวบ้านทั่วไปที่ทำสวนเข้า-ออกเอาสินค้าเกษตรมาส่งหน้าปากคลองที่เป็นแม่น้ำ

ที่มา: Nok Nok MN

ใส่ความเห็น