ภาพความรักอันอบอวน ของทั้งสองพระองค์

พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำไพพรรณี”
(๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๗ – ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗)
เรื่องราวความรักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.7) ที่มีให้กับ พันเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวในพระองค์ เป็นพระมเหสีพระองค์แรกตามแบบยุโรป และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย… แต่เดิมพระมหากษัตริย์ไทยจะมีพระมเหสี เจ้าจอม หรือพระสนมเอกจำนวนมาก นับเนื่องจากกษัตริย์สมัยสุโขทัยลงมา จวบจนกระทั่ง รัชกาลที่ 6 แต่เมื่อถึง รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านรัก ผู้หญิงคนเดียวในชีวิตนั่นคือ สมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี
หนึ่งเดียวของในใจ ร.7 – สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
ในอดีตกล่าวกันว่า .. พระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉม สามารถเลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังมีพระจริยวัตรนุ่มนวล พระพักตร์แจ่มใส แย้มพระสรวลอยู่เนืองนิตย์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ประสบกับโลกธรรมและความสูญเสียอันใหญ่ยิ่งมาแล้ว
เป็นพระอัครมเหสีพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) และเป็นพระมเหสีพระองค์แรกตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที ๗ ราชินีผู้ไม่เกรงกลัวต่ออันตราย
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยคณะราษฎร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ครั้งนั้นเมื่อคณะราษฎรจะทูลเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จากพระราชวังไกลกังวล มาที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถามความเห็นจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในฐานะคู่ชีวิตว่า “หญิงว่ายังไง” สมเด็จฯ นั้นแม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า “เข้าไปตายไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ” รัชกาลที่ ๗ จึงตัดสินพระทัย เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระนคร
และเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับถึงกรุงเทพ พระองค์ทรงโปรดให้ผู้ก่อการคณะราษฎรเข้าพบ พระยาทรงสุรเดชได้ ตรวจตราพระองค์อย่างกวดขัน และมีเสียงหาว่าพระองค์ไม่กล้า จะเสด็จไปไหนก็ต้องพกปืนกระบอกเล็กๆ ไปด้วย บางคนก็หัวเราะเยาะว่า ปืนกระบอกเล็กเพียงนั้นจะไปสู้อะไรเขาได้
พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสว่า ” ปืนกระบอกนี้มีกระสุนเพียงสองลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง (สมเด็จพระบรมราชินี) แล้วเป็นของฉันเองอีกลูกหนึ่ง เพราะถ้าจะบังคับให้ฉันเซ็นอะไรที่เป็นการหลอกลวงราษฎรของฉันแล้ว เป็นยิงตัวตาย “
หลังจากพระราชสวามีสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ พระองค์ประทับอยู่ประเทศอังกฤษจวบจนพระราชสวามีเสด็จสวรรคต และเสด็จนิวัตกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลในขณะนั้น
พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระบรมราชินีในการเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเมือง รวมทั้งต่างประเทศเพื่อเป็นการเชื่อมพระราชไมตรีระหว่างประเทศ ภายหลังการนิวัติประเทศไทยหลังการสวรรคตของพระราชสวามีแล้ว พระองค์ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลายหลายครั้ง เมื่อเสด็จย้ายไปประทับ ณ จังหวัดจันทบุรี
ทรงดำเนินกิจการในด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และทรงพัฒนาการทอเสื่อ เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างและนำความรู้นั้นออกเผยแพร่แก่ประชาชน นอกจากนี้ พระองค์ยังมีส่วนในการพัฒนาการสาธารณสุขและการศึกษาของชาวจันทบุรี โดยรับเป็นพระราชภาระในการปรับปรุงโรงพยาบาลพระปกเกล้า รวมทั้งทรงตั้งมูลนิธิพระปกเกล้าเพื่อสนับสนุนกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาลพระปกเกล้า วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๗ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) ส่วนพระมารดาคือหม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ภายหลังหม่อมเจ้าอาภาพรรณีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี
พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ บ้างสะกดว่า รำไภพรรณี ชาววังเรียกขานพระนามพระองค์ว่า ท่านหญิงนา
สวรรคต : ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗ (๗๙ พรรษา) วังศุโขทัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
Cr.ขอขอบคุณเจ้าของภาพ

ใส่ความเห็น